แนวทางการพัฒนาด้านความยั่งยืนของซีพีเอฟซี


สำหรับบริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ (ซีพีเอฟซี) เรามองเห็นอนาคตที่เทคโนโลยีจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างความก้าวหน้าและการอนุรักษ์ ซึ่งทุกความก้าวหน้าทางดิจิทัลสำหรับเราคือการก้าวไปสู่อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ด้วยดิจิทัลโซลูชั่นที่ล้ำสมัย
ซีพีเอฟซีจะมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดผลกระทบต่อระบบนิเวศในกิจกรรมการลงทุน การพัฒนา และการจัดการด้านอสังหาริมทรัพย์ของเรา
ในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรรายแรกและรายเดียวในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพีเอฟซีจะมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากพลังการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน พัฒนาโครงการ และการพัฒนาเมืองที่พร้อมจะเจริญเติบโตร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน เพื่ออนาคตที่สดใสและยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป
ปพิตชญา สุวรรณดี, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ซีพีเอฟซีจะมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดผลกระทบต่อระบบนิเวศในกิจกรรมการลงทุน การพัฒนา และการจัดการด้านอสังหาริมทรัพย์ของเรา
ในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรรายแรกและรายเดียวในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพีเอฟซีจะมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากพลังการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน พัฒนาโครงการ และการพัฒนาเมืองที่พร้อมจะเจริญเติบโตร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน เพื่ออนาคตที่สดใสและยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป
ปพิตชญา สุวรรณดี, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด



ยุทธศาสตร์ความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573
มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรที่ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนให้กับคนทุกยุคทุกสมัย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ค่านิยม 3 ประโยชน์
ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง
พอเพียง
ระบบการบริหารซีพี
สู่ความเป็นเลิศ
สู่ความเป็นเลิศ
The 10 UNGC Principles
17 UN SDGs & UNGP
17 UN SDGs & UNGP
กฎระเบียบข้อบังคับ
และมาตรฐาน
และมาตรฐาน

การกำกับดูแลกิจการ
สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ
การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล
ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันข้อมูล

สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงโภชนาการ
การบริหารจัดการนวัตกรรม
การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
เป้าหมายความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573

การกำกับดูแลกิจการ
ร้อยละร้อยของกลุ่มธุรกิจได้รับการยอมรับของการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการ
สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
ร้อยละร้อยของกลุ่มธุรกิจมีการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมองค์กรและคู่ค้าโดยตรงที่มีความเสี่ยงสูงเป็นประจำ
การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ
50 ล้านคนได้รับการสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือการเสริมทักษะ
การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล
- ร้อยละร้อยของพนักงานได้รับการฝึกอบรมด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี
- ร้อยละร้อยของพนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี
ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันข้อมูล
ร้อยละร้อยของกลุ่มธุรกิจได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลด้านการจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ

สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
ร้อยละ 70 ของสัดส่วนยอดขายจากผลิตภัณฑ์และบริการแบบ B2B และ B2C ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
5 ล้านคนได้รับการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้ที่มีความต้องการ เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) และกลุ่มเปราะบางตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงโภชนาการ
10 ล้านคน ของเด็ก ประชาชน และคนยากจนได้รับการสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
การบริหารจัดการนวัตกรรม
7,500 ฉบับของสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
ร้อยละ 80 ของคะแนนความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียหลักจากการสำรวจของทุกกลุ่มธุรกิจ

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- บรรลุความเป็นการทางคาร์บอน (Scope 1 +2)
- SBT เป้าหมายระยะสั้น Scope 1 + 2 ลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2564
- SBT เป้าหมายระยะสั้น Scope 3 ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2564
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
- ลดปริมาณของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบเป็นศูนย์
- ร้อยละรอยของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
ลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยรายได้ให้ได้ร้อยละ 20 เทียบกับปีฐาน 2563
การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
- ร้อยละร้อยของวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงสูงที่ตรวจสอบย้อนกลับได้
- ร้อยละร้อยของกลุ่มธุรกิจดำเนินโครงการร่วมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องในระดับสากล เพื่อบริหารจัดการและติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
ร้อยละร้อยของคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการตรวจประเมิน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อให้เราเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่านและพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถเลือกที่จะยอมรับการใช้งานคุกกี้ของเราทั้งหมดหรืออาจอนุญาตปิดการใช้งานคุกกี้ได้ที่ ศูนย์ตั้งค่าคุกกี้ อ่านเพิ่มเติม >>